ตัวชี้วัดที่ 3.9 ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักตามเป้าหมายการให้บริการหน่วยงาน (เพิ่มเติม)
                  ตามเอกสารงบประมาณรายจ่าย
 
ผู้รายงาน นางเกตุแก้ว จินดาโรจน์, นางสาวชญานิศ เขียวสด, ทพญ.ปิยะนุช เอกก้านตรง, นางสาวนิติยาภรณ์ ศรีชัย,
            นางบังอร กล่ำสุวรรณ    โทรศัพท์ 0-4323-5904 ต่อ 5508, 4301, 3504
 
1) ข้อมูลผลการดำเนินงาน :      
  ตัวชี้วัด น้ำหนัก(Wi) ผลการดำเนิน งาน เกณฑ์การให้คะแนนเทียบกับระดับความสำเร็จตามเป้าหมายของตัวชี้วัด คะแนน
ที่ได้
คะแนนถ่วงน้ำหนัก  
  20 40 60 80 100 (SMi) (Wi x SMi)  
  3.9.1 ร้อยละของภาคีเครือข่ายนำองค์ความรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมไปใช้  0.125 0 40 45 50 55 60 0 0.00  
  3.9.3 ร้อยละของศูนย์อนามัยที่ดำเนินงานตามแนวทางคลินิก DPAC  0.15 สำเร็จ ไม่สำเร็จ  -  -  -  สำเร็จ 100 15.00  
  3.9.4 จำนวนตำบลต้นแบบที่ผ่านเกณฑ์ด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว(LTC) (ตำบล) 0.15 0  -  - 1 2 3 0 0.00  
  3.9.5 จำนวนชมรมผู้สูงอายุมีกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปาก (ชมรม) 0.15 8 5 6 7 8 9 80 12.00  
  3.9.7 ร้อยละของเทศบาล/อบต. ผ่านเกณฑ์ด้านกระบวนการเมืองน่าอยู่ด้านสุขภาพ                       
        - เทศบาล 0.085 75.45 74 76 78 80 82 39.71 3.38  
        - อบต. 0.085 39.89 6 8 10 12 14 100 8.50  
  3.9.8 ร้อยละของเทศบาล/อบต. ที่มีสัมฤทธิ์ผลด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม                     
        - เทศบาล 0.065 42.60 36 38 40 42 44 81.14 5.27  
        - อบต. 0.065 1.97 1 3 5 7 9 26.27 1.71  
  3.9.12 ร้อยละของเด็กและเยาวชนในพื้นที่เป้าหมายเฉพาะมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการสมวัย  0.125 0 20 35 50 65 80 0 0.00  
  รวม 1.0               45.86  
             
3.9.3 ร้อยละของศูนย์อนามัยที่ดำเนินงานตามแนวทางคลินิก DPAC     
ผู้รายงาน  นางเกตุแก้ว  จินดาโรจน์   โทร 043-235904  ต่อ 5508    
2) คำชี้แจงการปฏิบัติงาน/มาตรการที่ได้ดำเนินการ      
  1.จัดตั้งคลินิก DPAC  โดยใช้พื้นที่ในคลินิกส่งเสริมสุขภาพ แยกเป็นสัดส่วนชัดเจน มีวัสดุอุปกรณ์ที่พร้อมในการ
   ดำเนินงานและมีการประชาสัมพันธ์  เผยแพร่  การบริการ
 
  2.มีทีมงานที่รับผิดชอบการดำเนินงานคลินิก DPAC แบบสหวิชาชีพ  ประกอบด้วยแพทย์  พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
  นักโภชนาการ และนักวิทยาศาสตร์การกีฬา
 
  3. การดำเนินงานมีรูปแบบที่เป็นรูปธรรม ดังนี้  
      3.1 มีขั้นตอนการให้บริการคลินิก DPACที่เป็นเอกสารคุณภาพ  
      3.2 มี Flow  Chart  การให้บริการที่ชัดเจน  
      3.3 มีแบบบันทึกผู้รับบริการและแบบบันทึกต่างๆ    
      3.4 มีทะเบียนผู้รับบริการ / การนัดหมาย  
      3.5 การให้คำปรึกษารายบุคคล / การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ใช้บริการ  
  4.  มีระบบการติดตามประเมินผล และมีการใช้แบบบันทึกการรับบริการและแบบประเมินความรู้  
3) ปัจจัยสนับสนุนต่อการดำเนินงาน      
  1. การสนับสนุนจากผู้บริหาร       
   2. การประชาสัมพันธ์ที่ดี       
  3. การมีรูปแบบการให้บริการที่ชัดเจน       
  4. ความร่วมมือ/ความพร้อมของทีมงาน      
4) ปัญหา/อุปสรรคต่อการดำเนินงาน      
  1. สื่อความรู้ยังไม่เพียงพอ-ไม่น่าสนใจ (ขาว-ดำ)      
  2. ทีมงานมีองค์ความรู้การให้คำปรึกษาไม่เพียงพอ      
  3. รูปแบบการบริการยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ      
5) หลักฐานอ้างอิง       
  1.คลินิก DPAC  
  2.ทีมงาน DPAC  
  3.ระบบการติดตาม ประเมินผล  
  4.รูปแบบการดำเนินงาน DPAC  
     
ตัวชี้วัดที่ 3.9.4 จำนวนตำบลต้นแบบที่ผ่านเกณฑ์ด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว(LTC) (ตำบล)  
ผู้รายงาน นางสาวชญานิศ เขียวสด โทรศัพท์ 0-4323-5904 ต่อ 4301    
2) คำชี้แจงการปฏิบัติงาน/มาตรการที่ได้ดำเนินการ      
  1.จัดประชุมปฏิบัติการ การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว ด้วยการบูรณาการการมีส่วนร่วม
   ของชุมชน ได้เกณฑ์มาตรฐานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว สำหรับนำใช้ในพื้นที่ 8 จังหวัดๆ ละ 1 ตำบล
 
  2.นำเกณฑ์มาตรฐาน (LTC จากการประชุมฯ) ขยายผลการดำเนินงานในพื้นที่ท้องถิ่นต้นแบบ 7 แห่ง   
3) ปัจจัยสนับสนุนต่อการดำเนินงาน      
  1. ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือในการดำเนินงานตามกรอบแนวคิดของโครงการศึกษาและพัฒนารูปแบบ
    การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว ด้วยการบูรณาการการมีส่วนร่วมของชุมชน เนื่องจาก ตรงกับสภาพปัญหา
    ความต้องการของภาคีเครือข่ายในพื้นที่รับผิดชอบ และสอดคล้องกับตัวชี้วัดของยุทธศาสตร์ผู้สูงอายุ 
 
4) ปัญหา/อุปสรรคต่อการดำเนินงาน      
     - ไม่มี-  
5) หลักฐานอ้างอิง       
  ภาพกิจกรรมการจัดประชุม การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว        
     
ตัวชี้วัดที่ 3.9.5 จำนวนชมรมผู้สูงอายุมีกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปาก    
ผู้รายงาน   ทพญ.ปิยะนุช  เอกก้านตรง   โทรศัพท์ 0-4323-5904 ต่อ 3504   มือถือ 08-4519-7567    
2) คำชี้แจงการปฏิบัติงาน/มาตรการที่ได้ดำเนินการ    
  1. ร่วมประชุมพิจารณาแนวทางการดำเนินงานพัฒนาชมรมผู้สูงอายุส่งเสริมสุขภาพช่องปากกับผู้รับผิดชอบงานของ
    สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
 
  2. ชี้แจงแนวทางการดำเนินงานพัฒนาชมรมผู้สูงอายุส่งเสริมสุขภาพช่องปากแก่ผู้รับผิดชอบงานของสำนักงาน
   สาธารณสุขจังหวัด
 
  3. ร่วมจัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาแนวทางส่งเสริมสุขภาพช่องปากในชมรมผู้สูงอายุ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  
  4. จัดประชุมพัฒนาเกณฑ์ประเมินชมรมผู้สูงอายุคุณภาพด้านการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ในโครงการพัฒนา
   มาตรฐานรูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว ด้วยการบูรณาการการมีส่วนร่วมของชุมชน ของศูนย์อนามัยที่ 6
 
3) ปัจจัยสนับสนุนต่อการดำเนินงาน    
  1. ทุกจังหวัดมีการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพในชมรมผู้สูงอายุอยู่แล้ว บางชมรมมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากแล้ว  
  2. จังหวัดที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมป้องกันโรคตามชุดสิทธิประโยชน์ทางทันตกรรมสำหรับผู้สูงอายุ จะมีการดำเนินงาน
    ส่งเสริมสุขภาพช่องปากเชิงรุกในชมรมผู้สูงอายุ
 
  3. ในปีงบประมาณ 2552 ศูนย์ฯ ได้ส่งเสริมให้จังหวัดคัดเลือกชมรมผู้สูงอายุที่มีกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากดีเด่น  
    จังหวัดละ 1 ชมรม เพื่อเป็นต้นแบบในการดำเนินงาน
 
4) ปัญหา/อุปสรรคต่อการดำเนินงาน    
       -ไม่มี-  
5) หลักฐานอ้างอิง      
  1.เอกสารชี้แจงแนวทางการดำเนินงานพัฒนาชมรมผู้สูงอายุส่งเสริมสุขภาพช่องปาก  
  2.คู่มือประกอบการดำเนินงานโครงการฟันเทียมพระราชทานและการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ปี 2553  
  3.ภาพกิจกรรมและสรุปผลการประชุมกลุ่มแนวทางการพัฒนาชมรมผู้สูงอายุส่งเสริมสุขภาพช่องปาก จากเวที
   แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
 
  4. เกณฑ์การส่งเสริมสุขภาพช่องปากในชมรมผู้สูงอายุคุณภาพ โดยศูนย์อนามัยที่ 6 ร่วมกับภาคีเครือข่ายพัฒนาขึ้น  
 
ตัวชี้วัดที่ 3.9.7 ร้อยละของเทศบาล/อบต. ผ่านเกณฑ์ด้านกระบวนการเมืองน่าอยู่ด้านสุขภาพ    
ตัวชี้วัดที่ 3.9.8 ร้อยละของเทศบาล/อบต. ที่มีสัมฤทธิ์ผลด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม    
ผู้รายงาน : นางสาวนิติยาภรณ์  ศรีชัย   นางสาววาสนา คณะวาปี  โทร 043235904 ต่อ 4803 ,1802    
2) คำชี้แจงการปฏิบัติงาน/มาตรการที่ได้ดำเนินการ      
  1. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การจัดทำแผนพัฒนาด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมให้กับแกนนำท้องถิ่น
    ต้นแบบรุ่นที่ 1 วันที่ 19-20 มกราคม 2553 รุ่นที่ 2 วันที่ 21-22 มกราคม 2553
 
  2. จัดอบรมหลักสูตร การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมและการสุขาภิบาลอย่างยั่งยืน  
3) ปัจจัยสนับสนุนต่อการดำเนินงาน      
  1. นโยบายการดำเนินงาน 23 เมืองต้นแบบด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมของผู้บริหาร  
  2. ความพร้อมและความสมัครใจเข้าร่วมพัฒนาเป็นต้นแบบการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมของ อปท.  
  3. การกำหนดเงื่อนไขของแหล่งงบประมาณในการดำเนินโครงการทำให้แผนพัฒนาด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัย
    สิ่งแวดล้อมของ อปท. ที่ได้มีความชัดเจนและเป็นไปได้
 
4) ปัญหา/อุปสรรคต่อการดำเนินงาน      
     -ไม่มี-  
5) หลักฐานอ้างอิง       
  1.ภาพการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การจัดทำแผนพัฒนาด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม  
  2.ภาพการจัดอบรมพัฒนาศักยภาพเรื่อง การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมและการสุขาภิบาลอย่างยั่งยืน  
 
3.9.12 ร้อยละของเด็กและเยาวชนในพื้นที่เป้าหมายเฉพาะมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการสมวัย  
ผู้รายงาน : นางบังอร กล่ำสุวรรณ  โทร 043235904 ต่อ 4402  
2) คำชี้แจงการปฏิบัติงาน/มาตรการที่ได้ดำเนินการ      
  1. ชี้แจงแนวทางการดำเนินงานส่งเสริมพัฒนาการเด็กและเยาวชนให้กับผู้รับผิดชอบงานวัยเรียนของสำนักงานสาธารณสุข
    จังหวัดและครูโรงเรียนสังกัดตชด.และโรงเรียนสังกัดสพฐที่อยู่ในถิ่นทุรกันดาร (พ.ค.53)
 
  2. สำรวจภาวะโภชนาการของนักเรียนในโรงเรียนโรงเรียนสังกัด ตชด. และโรงเรียนสังกัดสพฐที่อยู่ในถิ่นทุรกันดาร
   (มิ.ย.-ก.ค. 53)
 
  3. ติดตามการดำเนินงานของโรงเรียนสังกัดตชด.และโรงเรียนสังกัดสพฐที่อยู่ในถิ่นทุรกันดาร (1 ครั้ง)  
  4. การสนับสนุนเอกสารวิชาการในรูปแบบต่างๆ  
  5. สรุปผลและรายงานผลภาวะโภชนาการของนักเรียน (ก.ย.53)  
3) ปัจจัยสนับสนุนต่อการดำเนินงาน      
   ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเนื่องจากเป็นโครงการในพระราชดำริ  
4) ปัญหา/อุปสรรคต่อการดำเนินงาน      
   -ไม่มี-  
5) หลักฐานอ้างอิง       
  1. ภาพกิจกรรมการติดตามการดำเนินงาน ร.ร.ตชด.  
  2. ภาพสิ่งสนับสนุนต่างๆ